วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พุทธจริยาอันเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

  • พระพุทธเจ้าทรงสมบูรณ์ด้วยความรู้แจ้งจริง ทรงมีความบริสุทธิ์ทั้งทางกาย วาจา และใจ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองจิตโดยประการทั้งปวง ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ คือทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองแล้วสั่งสอนให้คนอื่นรู้ตาม ทรงมีความกรุณาอันยิ่งใหญ่ เสียสละความสุขส่วนพระองค์เสด็จออกไปสั่งสอนแนวทางพ้นทุกข์แก่ชาวโลก โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก สิ่งที่ทรงบำเพ็ญตลอดระยะเวลา ๔๕ ปีหลังตรัสรู้ เรียกกันว่า "พุทธจริยา"
  • พุทธจริยา แปลตามศัพท์ว่า พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า หรือพูดอย่างภาษาสามัญก็คือ ความประพฤติที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นมี ๓ ประการคือ
  1. โลกัตถจริยา พุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก                          
  2. ญาตัตถจริยา พุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์แก่พระประยูรญาติทั้งหลาย
  3. พุทธัตถจริยา พุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะที่เป็นพระพุทธเจ้า

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การตรัสรู้


ตรัสรู้ แปลว่า รู้แจ้ง รู้อย่างแจ่มแจ้ง รู้ชัดเจน ใช้เป็นคำเฉพาะสำหรับพระพุทธเจ้า "ตรัสรู้" ของพระพุทธเจ้า คือตรัสรู้ ญาณ ๓ ได้แก่
  1. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในอดีตได้ คือระลึกชาติได้
  2. จุตูปปาตญาณ ความรู้ในจุติและอุบัติเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียก ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ บ้าง
  3. อาสวักขยญาณ ความรู้ในการกำจัดอาสวกิเสส
ตรัสรู้ อีกนัยหนึ่งคือรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เมื่อทรงพระชนมายุ ๓๕ พรรษา


อ้างอิง[แก้]

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิปัสสนากรรมฐาน


วิปัสสนากรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา, กรรมฐานทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หมายถึงการปฏิบัติธรรมที่ใช้สติเป็นหลัก

วิปัสสนากรรมฐานบำเพ็ญได้ โดยการพิจารณาสภาวธรรมหรือนามรูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะอินทรีย์ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่าสภาวธรรมเหล่านี้ ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
วิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งอบรมปัญญาเป็นหลักคู่กับ สมถกรรมฐาน ซึ่งมุ่งบริหารจิตเป็นหลัก ในคัมภีร์ทางพระศาสนาทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั่ว ๆ ไปมักจัดเอาวิปัสสนาเป็นแค่ สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เพราะในวิภังคปกรณ์พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างนั้น ทั้งนี้ก็ยังพอจะอนุโลมเอาวิปัสสนาว่าเป็นภาวนามยปัญญา[ต้องการอ้างอิง] ได้อีกด้วย เพราะในฎีกาหลายที่ท่านก็อนุญาตไว้ให้ ซึ่งท่านคงอนุโลมเอาตามนัยยะพระสูตรอีกทีหนึ่ง และในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคท่านก็อนุโลมให้เพราะจัดเข้าได้ในภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุข้อ 10.